เตาก๊าซซิไฟเออร์ (Gasifier)
วิกฤติพลังงาน ปัญหาความต้องการใช้พลังงานในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงเช่น ก๊าซ LPG มีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น ทำให้หลายอุตสาหกรรมทั้งใหญ่และเล็กมีต้นทุนการผลิตและพลังงานสูงขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาแหล่งพลังงานอื่นๆมาทดแทนก๊าซLPG สำหรับพลังงานทางเลือกที่น่าจะนำมาทดแทนก๊าซLPG คือวัสดุชีวมวล (Biomass) หรือถ่านหินสะอาด (Clean Coal) ซึ่งเทคโนโลยีการแปรรูปเชื้อเพลิงเหล่านี้ ให้กลายเป็นพลังงานความร้อนมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง คือการใช้กระบวนการก๊าซซิฟิเคชั่น (Gasification) ซึ่งมีข้อดีคือสามารถเปลี่ยนรูปเชื้อเพลิงแข็งให้อยู่ในรูปของก๊าซเชื้อเพลิง ทำให้สะดวกในการใช้งาน สามารถควบคุมการเผาไหม้ได้ดี และสามารถควบคุมมลภาวะจากการเผาไหม้ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้ง่าย การประยุกต์ใช้เตาก๊าซซิไฟเออร์ จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนในภาคอุตสาหกรรมได้
กระบวนการก๊าซซิฟิเคชั่น คือ กระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งให้กลายเป็นก๊าซเชื้อเพลิงด้วยกระบวนการทางความร้อน โดยในกระบวนการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงนั้นประกอบด้วย กระบวนการอบแห้ง กระบวนการไพโรไลซิส กระบวนการเผาไหม้ และกระบวนการรีดักชั่น โดยเตาที่ใช้ผลิตก๊าซเชื้อเพลิงเรียกว่า เตาก๊าซซิไฟเออร์ ซึ่งเตาก๊าซซิไฟเออร์ในปัจจุบันมีอยู่หลายประเภท แต่ที่นิยมใช้คือแบบไหลลง เพราะให้ก๊าซเชื้อเพลิงที่มีความสะอาด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้อย่างหลากหลาย ในการออกแบบเตาก๊าซซิไฟเออร์นั้น ต้องคำนึงถึง ชนิดของเชื้อเพลิง ขนาดของเชื้อเพลิง ขนาดของเตา ปริมาณวัตถุดิบที่ป้อน ปริมาณอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ โดยตัวแปรเหล่านี้ได้ถูกปรับแต่งอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกันเพื่อให้ได้ปริมาณและคุณภาพของก๊าซเชื้อเพลิงตามต้องการ โดยเตานี้สามารถใช้ได้กับเชื้อเพลิงแข็ง เช่น แกลบ กะลาปาล์ม ไม้สับ และถ่านหิน เป็นต้น
การนำไปใช้ในอุตสาหกรรม ทดแทนการใช้ก๊าซแอลพีจีในกระบวนการอบไล่ความชื้นในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การอบปุ๋ย อบขี้เลื่อย อบถั่วเหลือง อบปาล์มและสินค้าเกษตรอื่นๆ และใช้ร่วมกับก๊าซแอลพีจีในอุตสาหกรรมที่ต้องการอุณหภูมิสูง เช่น อุตสาหกรรมหลอมอะลูมิเนียม อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นต้น
ข้อมูลทางเทคนิคของเตาก๊าซซิไฟเออร์
ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
เตาก๊าซซิไฟเออร์มีประสิทธิภาพการผลิตความร้อน 70% เมื่อใช้ผลิตก๊าซเชื้อเพลิงทดแทนการใช้ก๊าซแอลพีจี จะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ 30 – 50%
การนำไปใช้ประโยชน์ทางความร้อน
การนำไปใช้ประโยชน์เพื่อผลิตไฟฟ้า
โรงผลิตไฟฟ้าชีวมวล